วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

Blogger Talk

สวัสดีค่ะ enjoyday.net เป็น Blog ที่ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ สอนทำเว็บตั้งแต่พื้นฐานเหมาะกับผู้เริ่มต้น ถ้างงๆ ไม่รู้จะิเริ่มต้นตรงไหน ให้เริ่มที่นี่หัวข้อ สอนการสร้างเว็บไซต์
ถ้ากำลังมองหาบทเรียนออนไลน์สอนเขียนเว็บเพจ ก็ที่นี่เลย ...
HTML
CSS
XHTML
HTML Quick List
ในปัจจุบันเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะไม่ทำเว็บด้วยการเขียนเว็บเพจทีละหน้าเองแล้ว แต่จะอาศัย CMS (Content Management System) เช่น Wordpress, Joomla! ซึ่งเป็นระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์อย่างอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม
ถ้าผู้อ่านสนใจจะทำ Blog อย่าง enjoyday.net สามารถศึกษาได้จากหัวข้อ การสร้าง Blog ด้วย Wordpress หรือสนใจอยากทำเว็บไซต์ด้วย CMS ลองศึกษาจากหัวข้อ การสร้างเว็บไซต์ด้วย Joomla! ค่ะ
สำหรับผู้ที่ศึกษาเรื่องการทำ Adsense, Adwords, Affiliate, SEO หรือเรื่องอื่นๆ อยู่ แล้วเจอคำศัพท์ที่ไม่เข้าใจลองเข้าไปดูได้ที่นี่่ จะพยายามรวบรวมเพิ่มเติมให้ได้มากที่สุดค่ะ Glossary - อภิธานศัพท์
นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจในแวดวงคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต อ่านได้จาก Categories ที่วางอยู่ด้านขวามือ หรือคลิกที่นี่ อ่านบทความทั้งหมด
หวังว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจทำเว็บไซต์ทั้งหลายนะคะ ^^










การสร้าง Blog !!!



Blog ไทยก็มีเยอะนะครับ แต่ส่วนใหญ่ เค้าไม่ให้มีโฆษณาใน Blog จึงขอแนะนำ Blog ของ google ดีกว่า ซึ่งมีภาษาไทย ในการอธิบายเมนูต่างๆด้วย และสามารถเลือกภาษาที่จะแสดงเมนูใน blog ได้ (กรณีทำโฆษณาภาษาอังกฤษ) การสร้าง blog กับ blogger.com ชื่อที่ได้ จะได้เป็น ชื่อที่ตั้ง.blogspot.com ถามว่า Blog สู้การทำเว็บ .com ได้มั้ย ลองเข้า google.co.th แล้วค้นคำว่า เที่ยวลาว ดูนะครับจะเห็นว่า blog สู้ .com ได้อย่างสบาย การที่เว็บจะอยู่อันดับต้น มันขึ้นกับเนื้อหาในเว็บครับ
@ ...วิธีการสมัคร Blogger.com !!!







ถ้าคุณเคยสมัครอะไรของ google ไว้แล้ว เช่น เคยสมัครเมล์ gmail ก็สามารถใช้ รหัส gmail login ในช่อง ลงชื่อเข้าใช้งานได้เลย

...หรือถ้าไม่เคยสมัครอะไร หรืออยากจะสมัครใหม่ ก็ คลิกคลิกที่ลูกศรสีส้ม สร้างบล็อคของคุณทันที.



.ที่อยู่อีเมล ใส่เมล์ของเรานะครับ เมล์อะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น gmail ครับ ก็ประมาณว่า เมล์ที่เราใช้อยู่นั่นแหละครับ..ใส่เมล์นั้นอีกครั้งครับ..กำหนดรหัสผ่าน ตั้งขึ้นมาเลย ไม่ใช่รหัสเมล์นะครับ เป็นรหัสที่เราตั้งขึ้นเพื่อสมัคร blogger ครับ..ชื่อที่แสดง ก็อย่างที่ในเว็บบอกครับ คือ คือนี่จะแสดงว่าเราเราโพสข้อความอะไรใน blog ของเรา หรือเขียนคอมเม้น แสดงความคิดเห็น blog ของคนอื่น...รหัสยืนยัน ใส่รหัสสุ่มตามภาพที่ขึ้นมา...ทำเครื่องหมายช่องสี่เหลี่ยม ยอมรับข้อตกลง ...จากนั้นคลิก ดำเนินการต่อ ตั้งชื่อเว็บบล็อกเลยครับ ชื่อจะปรากฏที่บนสุดของ blog เช่น ดังภาพที่อยู่บล็อก ก็คือ ชื่อที่อยู่ url ของ blog นั่นเองครับ ตัวอย่างชื่อ blogสำหรับการ ตรวจสอบความพร้อมคือ ตรวจสอบว่าชื่อที่ตั้งอยู่ ซ้ำหรือมีใครใช้อยู่หรือยังถ้าขึ้น ที่อยู่บล็อกนี้สามารถใช้ได้ ก็สามารถใช้ชื่อนี้ได้ครับ*** ทั้งชื่อเว็บบล็อก และที่อยู่ บล็อก สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลังครับและ 1 user ที่ใช้ login blogger สามารถ สร้าง blog ได้ 100 blog ครับถ้าอยากสร้างอีก ก็สมัคร account blogger ใหม่ เพิ่มอีกครับ ***ขั้นตอนต่อไปก็จะมีให้เลือกรูปแบบของ blog เลือกได้เลยครับ ชอบแบบไหนก็เลือกไปก่อน สามารถ เปลี่ยนแปลงภายหลังได้คลิก ดำเนินการต่อ .
..หลังจากนั้น จะมาถึงขั้นตอน เริ่มต้นการเขียนบล็อก เพื่อนำเสนอสิ่งที่เราต้องการนำเสนอทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ blog ของ blogger ก่อนครับ ก่อนเขียน blog เราต้องทำความเข้าใจและวางแผนก่อนครับ .. blog เราสามารถ เขียนข้อความต่างๆ แทรกภาพ หรือนำเสนอต่างๆได้ ...การเขียน blog ที่ blogger - ข้อความล่าสุด จะอยู่ที่หน้า blog- ข้อความต่างๆที่เขียนไป จะเป็นหัวข้อ รวมอยู่ในคลังบทความของบล็อก ซึ่งคำว่า "คลังบทความของบล็อก" ตัวอย่าง blog เที่ยววังน้ำเขียว http://wang-namkeaw.blogspot.com/ ผมแก้คำว่า คลังบทความของบล็อก เป็น "รายละเอียด การท่องเที่ยว อ.วังน้ำเขียว" ซึ่งวิธีแก้เข้าที่หัวข้อ รูปแบบ...องค์ประกอบของหน้าคลิกเข้าที่แก้ไข เพื่อเข้าไปแก้ไขคำว่า คลังบทความของบล็อกสำหรับรูปแบบของ blog เที่ยววังน้ำเขียว ทำไมไม่มีใน แม่แบบ ของ blogger จะอธิบายอีกทีครับ ...เกี่ยวกับคลังของบทความ เราควรวางแผนแล้วว่า บทความหรือข้อความต่างๆที่เราจะเขียน blog จะเรียงลงมา เมื่อมีผู้เข้าเยี่ยมชม blog ของเรา ผู้เยี่ยมก็จะเห็นหัวข้อเหล่านั้น และเลือกที่จะคลิกอ่านได้ เป็นผลดีในการนำเสนอ - สำหรับบทความต่างๆ หรือข้อความต่างๆที่เราจะนำเสนอใน blog ข้อความล่าสุดจะอยู่หน้าแรกครับ หน้าแรกของ blog ควรจะเป็นเหมือนหน้ารับแขก ซึ่งออกแบบ เพื่อดึงดูดให้ผู้เข้าเยี่ยมชมได้สนใจ และอ่าน blog ..แล้วจะทำงัยล่ะ ? เมื่อข้อความต่างๆที่เรา เขียนไป เป็นหัวข้อต่างๆ ข้อความล่าสุดจะอยู่หน้าแรก ถ้าเราออกแบบ หน้าที่ดึงดูดความสนใจ ไว้เป็นหน้าแรกแล้ว ถ้าเรามีข้อความมาเขียน หรือ นำเสนออีก จะทำงัย ให้หน้าที่เราออกแบบไว้ อยู่หน้าแรก ...วิธีการง่ายๆก็คือ แต่ละบทความที่เราเขียนไป สามารถแก้ไขได้ เราเข้าไปแก้ไขบทความนั้น แก้ไขตรงวันที่ หรือจะแก้ไขเวลาด้วยก็ได้ ให้เป็นวันที่ล่าสุด เพื่อให้บทความนั้นยังอยู่หน้าแรกนั่นเอง ...อยู่ล่างๆ นะครับ คลิกที่ตัวเลือกของบทความ แล้วจะมีให้แก้ไขได้สำหรับ ป้ายกำกับสำหรับบทความนี้: ...หมายถืง คีย์เวิร์ด สำคัญ หรือน่าสนใจ ในบทความหรือข้อความนั้นๆนะครับ เวลาโพสหรือเขียนข้อความไปแล้ว จะขึ้นเป็นข้อความ ป้ายกำกับ อยู่ล่างสุดของบทความ..ทำความเข้าใจ การโพส หรือการเขียนข้อความ ...เผยแพร่บทความ คือเขียนข้อความเสร็จแล้ว ต้องการโพสใน blog แล้ว...สำหรับ บันทึกทันที หมายถึง เราเขียนแล้ว แต่ยังไม่อยากนำเสนอลงใน blog เราอาจยังเขียนไม่เสร็จ เราใช้ปุ่มบึนทึกทันที บันทึกไว้ก่อน ยังไม่แสดงใน blog เพื่อไว้จะมาแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์อีกทีในภายหลังครับ ...กลับมาเรื่องป้ายกำกับ เราสามารถแทรกไว้ใน blog เป็นเมนูได้ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชม ได้เลือกอ่านได้ ซึ่งใน blog เที่ยววังน้ำเขียว http://wang-namkeaw.blogspot.com/ ป้ายกำกับ รวมอยู่ด้านขวานะครับ ที่เป็นหัวข้อ "คีย์เวิร์ด เด่นๆ ในการเที่ยว วังน้ำเขียว" ซึ่งแต่ก่อน จะเป็นหัวข้อว่า "ป้ายกำกับ" ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อหัวข้อได้ครับ...สำหรับการเพิ่ม ส่วนของป้ายกำกับ ทำได้โดย มาที่องค์ประกอบของหน้ามาที่เพิ่ม Gadget ตรงไหนก็ได้ครับ ปกติจะอยู่ทางด้านซ้าย และล่างสุด เลือก ป้ายกำกับ แล้วคลิกเครื่องหมาย บวก + เพื่อเลือกรูปแบบ ป้ายกำกับ เข้ามาใน blog ...จะมีป้ายกำกับขึ้นมา เพื่อให้คลิก บันทึก เป็นการแทรกโดยสมบูรณ์ ...หรือจะแก้ไข คำว่า ป้ายกำกับ เลยก็ได้ หรือค่อยกลับมาแก้ไขภายหลังได้ครับเมื่อแทรกแล้ว ก็จะมีรูปแบบของป้ายกำกับเข้ามาใน blog...สำหรับ หัวข้อส่วนต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้ เพื่อจัดรูปแบบต่างๆของ blog โดยเอาเม้าส์ คลิกค้าง แล้วลากไปตามส่วนต่างๆ ได้ตามต้องการ...มาถึงที่ติดค้างไว้ คือรูปแบบของเว็บ เที่ยววังน้ำเขียว ทำไมไม่มีใน แม่แบบของ blogger การใส่แม่แบบนอกเหนือจากแม่แบบที่มี ใน blogger ทำดังนี้เข้าไปที่ http://btemplates.com/ จะมีรูปแบบต่างๆให้เลือก ดาวน์โหลดไฟล์ที่โหลดมา จะเป็นไฟล์ .zip ให้เรา แตกไฟล์ .zip ออกมา จะได้เป็นไฟล์ .xml..เราจะเอาไฟล์ .xml เข้า blog ได้อย่างไร ?,มาที่เมนู รูปแบบ หัวข้อ แก้ไข HTML จะมีให้ Browse เพื่อเลือกไฟล์ .xml ที่เรามีในเครื่อง (ที่เราไปโหลดมา)แล้วคลิก อัปโหลด เพื่อ โหลดไฟล์ xml เข้าไปใน blogจะมีบางรายการขึ้นมา ว่าส่วนไหนบ้างของแม่แบบเก่า จะหายไป ก็คลิกที่ยืนยันและบันทึก เพื่อ เปลี่ยนแปลงให้ blog เรา เป็นแม่แบบใหม่ ที่ต้องการ...สำหรับข้อความ บทความในการโพสต่างๆ ก็จะยังอยู่นะครับ จะไม่หายไปไหน เป็นการเปลี่ยนแม่แบบเฉยๆแต่ส่วนของการตกแต่ง หรือ Gadget ต่างๆที่เราเพิ่มเติมเสริมใน แม่แบบเก่า จะหายไป เราค่อยมาเลือก Gadget เพื่อตกแต่งใหม่ได้ครับ...มาดูเมนูการตั้งค่า ซะหน่อยบางคนสงสัยครับว่า blog ที่เขียน บทความต่างๆ ยาวลงมามาก ไม่รู้จะทำงัย มาที่ เมนูการตั้งค่า แล้วมาที่ การจัดรูปแบบสามารถเลือกได้ว่า จะแสดง หน้าละกี่บทความครับ ...ในเมนูนี้ ยังสามารถเปลี่ยน ภาษาได้ด้วย เป็นการเปลี่ยนภาษาของเมนูต่างๆ ใน blog ของเราครับ กรณี เราทำ blog ภาษาอังกฤษ แล้วอยากให้เมนูต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ ...และอย่าลืม เข้ามาเปลี่ยน โซนเวลา ให้เป็น GMT +7 กรุงเทพด้วยนะครับ จะได้เช็คเวลาได้ กรณีมีใครมาเขียน แสดงความคิดเห็นใน blog เราครับชื่อ blog สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ด้วยนะครับ มาที่ เมนู การเผยแพร่ครับ ...มีประโยชน์กรณีที่เรา เขียนและตกแต่ง blog เยอะแล้ว แต่ไม่พอใจชื่อ blog ที่ใช้อยู่ ครับ เราก็สามารถแก้ไขได้ครับ... 1 user สามารถเขียน blog ได้ 100 blog ...เห็นหัวบนสุด ในระบบการเขียน blog มั้ยครับ คลิกที่แผงควบคุม จะมีรายการ blog ต่างๆที่เราทำไว้เรียงลงมาให้เห็น..กรณีที่ยังไม่มี ก็จะมี blog ที่เราพึ่งทำนั่นแหละครับ 1 รายการ ถ้าเราจะทำ blog ใหม่เพิ่มอีก เรา ก็คลิกที่ สร้างบล็อกครับ ก็จะมีให้ตั้งชื่อ เพื่อสร้าง blog เพิ่มครับ ซึ่ง 1 user ของ blogger สามารถ สร้าง blog ได้ 100 blog ถ้าเราอยากสร้างมากกว่านั้น เราก็สมัคร blogger เพิ่มใหม่อีก User ครับ ... จบแล้วครับ ความรู้ในการเขียน blog และการวางแผนในการจัดรูปแบบ blog เพื่อความสวยงาม...คัดลอกได้ครับ แต่ต้องอ้างอิงว่า เอาความรู้ มาจาก http://www.makemoney-school.com/ ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า สังคมสีเขียว (Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความไม่รู้ว่าจะนำปรัชญานี้ไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าผู้นำสังคมทุกคน ทั้งนักการเมืองและรัฐบาลใช้คำว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นข้ออ้างในการทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อให้รู้สึกว่าได้สนองพระราชดำรัสและให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียง ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อตัวเอง ซึ่งความไม่เข้าใจนี้อาจเกิดจากการสับสนว่าเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุด จาก สหประชาชาติ (UN)โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นปรัชญาที่สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน

ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
มีหลักพิจารณา ดังนี้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง

แผนภาพแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"
ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญาอภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็น
คุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง


การนำไปใช้
ในประเทศไทย
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า "สังคมสีเขียว" ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท
แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญของไทย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) ความว่า: "บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ"
นายสุรเกียรติ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ได้กล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ในการประชุมสุดยอด The Francophonie Ouagadougou ครั้งที่ 10 ที่ Burkina Faso ว่า ประเทศไทยได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่กับ "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการเกษตรกรรม เศรษฐกิจ และการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสอดคล้องเป้าหมายแนวทางของนานาชาติในประชาคมโลก โดยยกตัวอย่างการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ซึ่งเมื่อยึดหลักปรัชญาในการแก้ปัญหาสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ของไทยเติบโตได้ถึงร้อยละ 6.7

นอกประเทศไทย
การประยุกต์นำหลักปรัชญาเพื่อนำพัฒนาประเทศในต่างประเทศนั้น ประเทศไทยได้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน ผ่านทางสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยมีหน้าที่ คอยประสานงานรับความช่วยเหลือทางวิชาการด้านต่าง ๆ จากต่างประเทศมาสู่ภาครัฐ แล้วถ่ายทอดต่อไปยังภาคประชาชน และยังส่งผ่านความรู้ที่มีไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศได้ถ่ายทอดมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต่างชาติก็สนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพราะพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ ซึ่งแต่ละประเทศมีความต้องการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิต สภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ โดยได้ให้ผู้แทนจากประเทศเหล่านี้ได้มาดูงานในหลายระดับ ทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบาย จนถึงระดับปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่าง ๆ
นอกจากนั้นอดิเทพ ชาชาชาชสชสชาชาภาณุพงศ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้กล่าวว่า ต่างชาติสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยราษฎรของพระองค์ และทราบสาเหตุที่รัฐบาลไทยนำมาเป็นนโยบาย ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วก็ต้องการศึกษาเพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศอื่น
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวถึงผลสำเร็จอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงโดยองค์การสหประชาชาติ คือ "สหประชาชาติเห็นด้วยกับพระมหากษัติรย์ในเรื่องนี้ [เศรษฐกิจพอเพียง] โดยเริ่มใช้มาตรวัดคุณภาพชีวิตในการวัดความเจริญของแต่ละประเทศ แทนอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งกล่าวถึงแต่ความเจริญทางเศรษฐกิจเท่านั้น

ความเข้าใจของประชาชนชาวไทย
ปัญหาหนึ่งของการนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ก็คือ ผู้นำไปใช้อาจยังไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีความรู้เพียงพอ ทั้งยังไม่กล้าวิเคราะห์หรือตั้งคำถามต่อตัวปรัชญา เนื่องจากเป็นปรัชญาของพระมหากษัตริย์ ความชอบธรรมให้กับการพัฒนารูปแบบใด หรือมีนัยยะทางการเมืองอะไรอยู่เบื้องหลัง

การเชิดชู
13 นักคิดระดับโลกเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และมีการนำเสนอบทความ บทสัมภาษณ์ เป็นการยื่นข้อเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่โลก เช่น
ศจ. ดร. วูล์ฟกัง ซัคส์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมคนสำคัญของเยอรมนี สนใจการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาก และมองว่าน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับทุกชาติในเวลานี้ ทั้งมีแนวคิดผลักดันเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่รู้จักในเยอรมนี
ศจ. ดร.อมาตยา เซน ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 1998 มองว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการใช้สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และใช้โอกาสให้พอเพียงกับชีวิตที่ดี ซึ่งไม่ได้หมายถึงความไม่ต้องการ แต่ต้องรู้จักใช้ชีวิตให้ดีพอ อย่าให้ความสำคัญกับเรื่องของรายได้และความร่ำรวย แต่ให้มองที่คุณค่าของชีวิตมนุษย์
นายจิกมี ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศภูฏาน ให้ทรรศนะว่า หากประเทศไทยกำหนดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวาระระดับชาติ และดำเนินตามแนวทางนี้อย่างจริงจัง "ผมว่าประเทศไทยสามารถสร้างโลกใบใหม่จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างชีวิตที่ยั่งยืน และสุดท้ายจะไม่หยุดเพียงแค่ในประเทศ แต่จะเป็นหลักการและแนวปฏิบัติของโลก ซึ่งหากทำได้สำเร็จ ไทยก็คือผู้นำ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด
และนาย Håkan Björkman รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติในประเทศไทย กล่าวเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังได้ตระหนักถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และองค์การสหประชาชาติยังได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศให้ยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน
การวิพากษ์
อย่างไรก็ตาม ศ. ดร. เควิน ฮิววิสัน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา แชพเพลฮิลล์ ได้วิจารณ์รายงานขององค์การสหประชาชาติโดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่ยกย่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่า รายงานฉบับดังกล่าวไม่ได้มีเนื้อหาสนับสนุนว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็น “ทางเลือกที่จำเป็นมากสำหรับโลกที่กำลังดำเนินไปในเส้นทางที่ไม่ยั่งยืนอยู่ในขณะนี้” เลย และกล่าวว่าเนื้อหาในรายงานแทบทั้งหมดเป็นเพียงการเทิดพระเกียรติ และเป็นเพียงเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อภายในประเทศเท่านั้น ส่วน Håkan Björkman รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า "สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติต้องการที่จะทำให้เกิดการอภิปรายพิจารณาเรื่องนี้ แต่การอภิปรายดังกล่าวนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะอาจสุ่มเสี่ยงต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษถึงจำคุก
นอกจากนี้ ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์อีกว่าแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรูปแบบที่ไม่มีความแตกต่างไปจาก "ความนิยมท้องถิ่น" (Localism) เลย และยังมีชาวต่างชาติอีกมากที่ยังไม่เข้าใจว่าแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แท้จริงแล้วหมายถึงอะไร
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3]
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ


วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ระบบปฏิบัติการ os

ระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง หรือ ระบบปฏิบัติการแบบทันที (Real-time operating system: RTOS) คือระบบปฏิบัติการที่เวลาเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับประสิทธิภาพของระบบ นั่นคือมีชุดคำสั่งหรือโปรเซสบางอย่าง ที่จำเป็นต้องทำ ณ เวลาที่กำหนด หรือทำให้เสร็จในเวลาที่กำหนด ถ้าทำไม่ได้อาจสร้างความเสียหายหรือเกิดค่าความเสียหาย (cost) กับระบบ โดยทั่วไปสำหรับระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง การทำงานไม่ทันในเวลาที่กำหนด มีค่าเทียบเคียงได้กับ การไม่ได้ทำงานนั้นเลย ระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริงมักถูกออกแบบมาเพื่อแอปพลิเคชันแบบฝังตัวหรือแอปพลิเคชันที่ติดตั้งมากับระบบตั้งแต่แรกเพื่อทำงานเฉพาะด้าน เช่น ระบบปฏิบัติการของเครื่องเล่นซีดี ทันทีที่ระบบปฏิบัติการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีแล้ว จะต้องประมวลผลข้อมูล และส่งสัญญาณเสียงออกไปให้ผู้ฟังทันที ถ้าระบบปฏิบัติการทำงานไม่ทันก็จะทำให้เพลงฟังไม่รู้เรื่อง
ระบบปฏิบัติการบางตัวไม่ได้ถูกออกแบบมาตั้งแต่ต้นให้เป็นระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง แต่ก็สามารถถูกดัดแปลงให้เป็นได้ เช่นหลายบริษัทพัฒนาและขายลินุกซ์ที่ถูกดัดแปลงเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการแบบเวลาจริง และเมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 บริษัท มอนตาวิสตา (Montavista) ได้ส่งแพตช์ (patch) ไปยัง Linux kernel mailing list เพื่อทำให้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง
ระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริงมีจุดที่ต้องระวังในการออกแบบเป็นพิเศษอยู่ 2 จุดก็คือ
การจัดลำดับแบบเวลาจริง (real-time scheduling)
การจัดสรรหน่วยความจำ (memory allocation)
[แก้] การจัดลำดับแบบเวลาจริง
โดยโปรแกรมจัดลำดับ (scheduler) จะต้องมีความสามารถในการจัดลำดับการทำงาน ให้ทุกโปรเซสสามารถทำงานได้ทันตามที่ต้องการ โดยในปี ค.ศ. 1973 2 นักวิจัยคือ ลิวและเลย์แลนด์ ได้พิสูจน์ทฤษฎีบทบางอย่างเกี่ยวกับการจัดเวลาว่า กลุ่มโปรเซสลักษณะแบบใด จะสามารถจัดเวลาได้ทัน หรือในกรณีที่ไม่สามารถจัดเวลาได้ทันสำหรับทุกโปรเซส ลิวและเลย์แลนด์ก็ยังได้เสนออัลกอริทึมการจัดลำดับ ที่จัดเวลาให้มีค่าความเสียหายน้อยที่สุด โดยปกติแล้วระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบเพื่อใช้กับงานทั่วไป (general-purpose OS) ไม่เหมาะที่จะจัดลำดับโปรเซสแบบเวลาจริง เนื่องจากจะมี ค่าใช้จ่ายส่วนเกินหรือค่าใช้จ่ายอื่น (overhead) ในการทำกระบวนการสับเปลี่ยนโปรเซส (context-switching) สูง
[แก้] การจัดสรรหน่วยความจำ
อีกปัญหาหนึ่งคือการจัดสรรหน่วยความจำ ซึ่งระบบปฏิบัติการ จำเป็นที่จะต้องจองหน่วยความจำ ขนาดที่โปรเซส หรือโปรแกรมต้องการ ให้ทันภายในช่วงเวลาสั้นๆ ที่โปรเซสทำงานอยู่ โดยอัลกอริทึมปกติ จะใช้ไล่หาตามรายการโยงของหน่วยความจำที่ว่าง ซึ่งอาจจะมีประสิทธิภาพในแง่เวลาต่ำ
นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเรื่อง การแตกกระจายของหน่วยความจำ (memory fragmentation) เนื่องจากการจัดสรรเนื้อที่หน่วยความจำในทันทีเ ป็นเรื่องยากที่จะจัดสรรให้มีระเบียบ ปัญหานี้ไม่เป็นปัญหาใหญ่นัก สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะทั่วไป เพราะว่ามีการเปิด-ปิดอยู่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ตามสำหรับระบบฝังตัว ที่ทำงานอยู่ตลอดปี โดยไม่ได้เปิด-ปิดเลย ปัญหานี้ถือเป็นประเด็นสำคัญ